วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

รากไทย




ภาษาท่านาฏศิลป์

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย 

  โดยปกติแล้ว มนุษย์จะใช้ท่าทางประกอบคำพูด และเมื่อต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะใช้สีหน้าหรือความรู้สึกประกอบคำพูดนั้นๆ ด้วย เช่น กวักมือเข้า หมายถึงให้เข้ามาหา โบกมือออกไป หมายถึงให้ออกไป ในการแสดงนาฏศิลป์ ได้นำท่าธรรมชาติเหล่านี้มาประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางที่สวยงาม เราเรียกว่า “ภาษาท่านาฏศิลป์” ซึ่งท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้ อาจจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ท่าที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา รับ ส่ง ฯลฯ
๒. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
๓. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก ฯลฯ
ในการร่ายรำท่าต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงดนตรี โดยมุ่งถึงความสง่างามของลีลาท่ารำ
และจำเป็นต้องอาศัยความงามทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพากย์ และเพลงดนตรีนี้ ทางนาฏศิลป์เรียกว่า การรำตีบทหรือการรำบท ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นวิธีการอธิบายความหมายของท่าในนาฏศิลป์
สรุปได้ว่า ภาษานาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงท่าทางเลียนแบบธรรมชาติอย่างงดงาม สอดคล้องกับความหมายของคำร้องหรือคำประพันธ์เพื่อแทนคำพูด กิริยาอาการ ความรู้สึก และสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม
ความสำคัญของภาษานาฏศิลป์
ภาษานาฏศิลป์ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย แสดงถึงความสุนทรีย์ (งดงาม) ของงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ช่วยสื่อความหมายและทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม
ประโยชน์ของภาษานาฏศิลป์
ประโยชน์ของภาษานาฏศิลป์มีดังนี้
๑) ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน
๒) ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ ๓) ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

ประเภทของภาษานาฏศิลป์
ภาษานาฏศิลป์อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
๑. ภาษานาฏศิลป์ที่ปรุงแต่งจากท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่
๑.๑ ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ ไป มา เป็นต้น
๑.๒ ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบท เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
๑.๓ ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก เป็นต้น
๒. ภาษานาฏศิลป์ที่มาจากการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสื่อความหมายโดยเฉพาะ เป็นท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ และยึดถือเป็นแบบฉบับมาจนทุกวันนี้ เช่น ท่าสู้ ท่าปกป้องคุ้มครอง ท่าประเทศไทย ท่าที่นี่ ท่าขู่ฆ่า ท่าพินาศย่อยยับ เป็นต้น
ภาษานาฏศิลป์มีอยู่มากมาย ที่นักเรียน ควรเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องเหมาะสม มีดังต่อไปนี้
๑) ท่าแนะนำตัว หมายถึงสรรพนามแทนตัวเรา หรือ ฉัน หรือ ข้าพเจ้า ปฏิบัติดังนี้ : จะนั่ง หรือยืนก็ได้ มือซ้ายใช้จีบหงายที่อก หรือใช้ฝ่ามือซ้ายแตะที่อก หรือชี้นิ้วชี้ซ้ายที่อก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายชี้ที่อกก็ได้





๒) ท่าท่าน ปฏิบัติดังนี้ : ยกมือข้างใดข้างหนึ่งขึ้นตั้งฉากระดับใบหน้า ตามองที่มือยกขึ้น เอียงศีรษะ
ตรงข้ามกับมือที่ยกขึ้น




๓) ท่ารัก ชื่นชม ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานกันทาบที่ฐานไหล่ ใบหน้ายิ้มแสดงอารมณ์
มีความสุข ส่งสายตาประสานกัน
๔) ท่าเศร้าโศก เป็นทุกข์ ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานลำแขนที่หน้าท้อง เอียงศีรษะให้งดงาม
ก้มหน้าเล็กน้อย แสดงสีหน้าเศร้า
๕) ท่าปฏิเสธ ไม่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้าระดับอก แล้วสั่นข้อมือและใบหน้าเล็กน้อย เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ตั้งวง
๖) ท่าเธอ ปฏิบัติดังนี้ : ชี้นิ้วซ้ายมาด้านหน้าระดับอก เอียงศีรษะข้างขวา
๗) ท่าที่นี่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้นิ้วชี้ของมือข้างใดข้างหนึ่งชี้ลงพื้นด้านหน้าลำตัวระดับหน้าท้อง
ในลักษณะคว่ำมือและหักข้อมือลง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ชี้นิ้ว ส่งสายตามองนิ้วที่ชี้
๘) ท่ายิ้ม ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือซ้ายกรีดมือจีบคว่ำเข้าหาปาก เอียงศีรษะและลำตัวข้างเดียวกับมือที่จีบ
ริมฝีปาก ใบหน้ายิ้มให้งดงาม แสดงสีหน้าดีใจ มีความสุข
๙) ท่าตาย ปฏิบัติดังนี้ : แบมือหงายทั้ง ๒ ข้าง เหยียดแขนตึงระดับไหล่
๑๐) ท่ามา มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้น ตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้า
ขั้นตอนที่ ๒ หักข้อมือ พร้อมกดฝ่ามือลงอย่างรวดเร็ว ให้มืออยู่ในลักษณะจีบคว่ำเพียงเล็กน้อย
๑๑) ท่าไป มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้นตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ทำนาฏยศัพท์จีบหงาย
ที่ข้างหน้าระดับอก
ขั้นตอนที่ ๒ ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ หักข้อมือขึ้นเป็นตั้งวงหน้า

นาฏยศัพท์

นาฏยศัพท์  หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา
การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์"ดังนี้

ประเภทของนาฏยศัพท์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็ง
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์